ภาพกิจกรรม

การตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ไส้กรอก ณ ตลาดสดในเขตพื้นที่อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท 2565
การตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ไส้กรอก ณ ตลาดสดในเขตพื้นที่อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท 2565
วันที่  8 กุมภาพันธ์ 2565 นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ได้มอบหมายให้กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ร่วมกับเทศบาลเมืองชัยนาท ได้ดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ไส้กรอก เนื่องด้วยสถานการณ์ในหลายจังหวัด พบอุบัติการณ์การรับประทานไส้กรอกแล้วเกิดภาวะเมธฮีโมโกลบินนีเมีย จนทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค โดยการดำเนินการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ไส้กรอก และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารและผู้บริโภค ให้มีความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร ณ ตลาดสดในเขตพื้นที่อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท
อ่านเพิ่มเติม
Oryor School
Oryor School
https://school.oryor.com/register/ อย.พัฒนาโรงเรียนออนไลน์ หรือ อย.สคูล ให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มวัยเข้าเรียน  เพื่อรับความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ  ทั้ง อาหาร ยา เครื่องสำอาง อย่างเหมาะสมและปลอดภัย หวังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs ลดปัญหาเชื้อดื้อยา  ตามวิถีของ New Normal จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด - 19    ทำให้เราทุกคนต่างต้องปรับตัวเข้าสู่การใช้ชีวิตแบบวิถี New Normal อย.จึงได้พัฒนาให้มีโรงเรียนออนไลน์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Oryor School (อย.สคูล)   ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีระบบการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ https://oryor.com (school.oryor.com) โดย อย.สคูล มีบทเรียนออนไลน์ในเรื่องต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร และการบริโภคอาหารอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งผู้บริโภคสามารถใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ดังกล่าว ในการศึกษาวิธีการอ่านข้อมูลบนฉลาก เพื่อให้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่หวาน มัน เค็ม น้อย  รวมทั้งยังมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องสำอาง โดยแนะนำวิธีอ่านฉลาก แนะนำวิธีการหลีกเลี่ยงสารห้ามใช้อย่างไร เพื่อไม่ให้ได้รับอันตรายจากสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางนั้น ๆ ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากยาชุด เพราะถึงแม้การใช้ยาชุดจะเห็นผลดีในช่วงแรก แต่จะมีอันตรายร้ายแรงตามมามากมาย และความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก ที่หากมีการใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด อาจเกิดเชื้อดื้อยา ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อีกทั้งยังมีสื่อให้ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอินโฟกราฟิก วิดีโอคลิป นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกเพื่อลุ้นของรางวัลต่าง ๆ และผู้บริโภคที่เข้าใช้โรงเรียนออนไลน์ อย.สคูล  เมื่อเรียนจบบทเรียนต่าง ๆ แล้ว จะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองการเรียนจบอีกด้วย อย.สคูล นี้  ทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยทำงาน หรือแม้แต่ผู้สูงวัย สามารถเข้าใช้งานได้ เนื่องจากเป็นระบบที่ใช้งานได้ง่าย ขอให้ประชาชนทุกคนเข้ามาเรียนรู้กัน รับรองว่า มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ และของรางวัลต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งอย่าลืมส่งต่อความรู้ที่ได้รับให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเสี่ยงโรค NCDs ด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน 
อ่านเพิ่มเติม
อย. ลงดาบโฆษณาผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าอวดสรรพคุณเกินจริง หลอกลวงประชาชน
อย. ลงดาบโฆษณาผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าอวดสรรพคุณเกินจริง หลอกลวงประชาชน
อย. ลงดาบโฆษณาผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ดำเนินคดีผู้ผลิต ผู้โฆษณา ทั้งดารา-พรีเซ็นเตอร์ ผู้ทำคอนเทนต์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มีโทษทั้งจำและปรับ เตือนประชาชนอย่าได้หลงเชื่อ อาจเสียโอกาสในการรักษาโรค ย้ำ ผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าที่ อย. อนุญาต มีสรรพคุณเพียงบำรุงร่างกาย ไม่สามารถรักษาโรคได้แต่อย่างใด          ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) บูรณาการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ถั่งเช่ารายหนึ่งที่มีดารา นักร้อง เป็นพรีเซนเตอร์ อวดอ้างสรรพคุณรักษาโรคทางสื่อต่าง ๆ ทำให้ประชาชนเสียโอกาสในการรักษาโรคอย่างถูกต้องนั้น ในส่วนของ อย. ได้ตรวจสอบสื่อโฆษณาดังกล่าว พบการโฆษณาที่ฝ่าฝืน พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ดังนี้ การโฆษณาผลิตภัณฑ์ถั่งเช่า ผสม มัลติวิตามิน บี (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) และ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัดถั่งเช่า ผสม ยูซี-ทู (เครื่องหมายการค้า ลีฟเนส) ทางเว็บไซต์บริษัทผู้ผลิต ด้วยข้อความ เช่น “...สรรพคุณของถั่งเช่าต่อร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด เสริมสมรรถภาพทางเพศ...ฟื้นฟูระบบการทำงานของไต...ไตวายเรื้อรัง...รักษามะเร็งปอด... ภูมิแพ้...ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่ให้แพร่กระจาย กำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส...” การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัดถั่งเช่า ผสม ยูซี-ทู (เครื่องหมายการค้า ลีฟเนส) ทางช่องโทรทัศน์ที่ กสทช. ตรวจพบ ออกอากาศในลักษณะรายการสัมภาษณ์ มีแขกรับเชิญที่เป็นพรีเซ็นเตอร์มาเล่าประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ว่า ทำให้สดชื่น หลับเต็มอิ่ม หายจากอาการปวดข้อเข่า กลับมานั่งพับเพียบได้ แนะนำให้ผู้สูงอายุที่มีโรคข้อเข่ารับประทาน และสัมภาษณ์ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีโรคประจำตัว เช่น นอนหลับไม่สนิท ปวดตามข้อ เมื่อรับประทานผลิตภัณฑ์แล้วอาการที่เป็นอยู่ดีขึ้น”             โดยโฆษณาทั้ง 2 ช่องทาง เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต และโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณอันเป็นเท็จ หลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร มีบทลงโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่ง อย. ได้สั่งระงับการโฆษณา พร้อมดำเนินมาตรการทางปกครองกับบริษัทผู้ผลิตอาหาร ผู้ทำการโฆษณารวมถึงพรีเซนเตอร์ และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด และมีหนังสือถึงตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายแล้ว ในส่วนของ กสทช. อย. ได้รับการประสานจาก  กสทช. ว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มีมติลงโทษปรับทางปกครองต่อสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม 2 ช่อง กรณีโฆษณาผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าโอ้อวด หลอกลวง เกินจริง รายละ 5 แสนบาท และตรวจสอบพบสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมอีก 1 ช่อง ที่จะเข้าสู่การพิจารณาลงโทษปรับ 5 แสนบาท เช่นกัน ทั้งนี้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมกว่า 10 ราย และสถานีวิทยุอีกกว่า 150 ราย ที่ได้รับคำสั่งเตือนให้ระงับการโฆษณาไปแล้ว กสทช. จะเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด หากตรวจพบว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็จะถูกลงโทษปรับอีก แม้จะเปลี่ยนไปโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น หากเข้าลักษณะโอ้อวด หลอกลวง เกินจริง ก็ถือได้ว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง มีสิทธิ์ถูกพิจารณาลงโทษปรับได้ และขอเตือนไปยังผู้ให้บริการโครงข่ายกล่องดาวเทียมต่าง ๆ ด้วยว่า หากช่องรายการที่อยู่ในโครงข่ายนั้นมีความผิด ทางโครงข่ายจะต้องรับโทษไปด้วย ซึ่งมีตั้งแต่การเตือนและโทษปรับแบบเดียวกับช่องรายการ เพื่อมิให้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อสังคมต่อไป            ผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าที่ อย. อนุญาตมี 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีถั่งเช่าเป็นส่วนประกอบ สรรพคุณเพื่อบำรุงร่างกายเท่านั้น ดังนั้น การโฆษณาในลักษณะข้างต้นขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ผู้ที่รับประทานผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าอย่าคาดหวังว่าจะช่วยรักษาโรคได้ นอกจากจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจเสียโอกาสในการรักษาโรคอย่างถูกวิธีอีกด้วย            มาตรการด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในเรื่องของถั่งเช่า ของจังหวัดชัยนาท มาตรการด้านการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีถังเช่าเป็นส่วนประกอบของจังหวัดชัยนาท ได้มีการดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวัง ณ แหล่งจำหน่าย โดยตรวจสอบผลิตภัณฑ์ว่ามีการได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องหรือไม่      2. ตรวจสอบเฝ้าระวังทางสถานีวิทยุร่วมกับ กสทช. และ อย. โดยได้มีการดำเนินคดีเกี่ยวกับการโฆษณากับสถานีวิทยุชุมชน 1 แห่ง เนื่องจากพบว่ามีการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตังถั่งซาน ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงว่าสามารถบำบัดบรรเทารักษาโรคได้ (บรรเทาอาการปวดขา  ปวดเมื่อยรางกาย) โดยเป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทได้มีการดำเนินคดีตามกฎหมาย แล้วและรายงานผลไปยัง กสทช. และ อย. เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังต่อไป      3. การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนให้รู้เท่าทันการโฆษณาเกินจริง ผ่านช่องทางเฟสบุ๊ค ไลด์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เครือข่าย อสม เครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบการร้านยา ครู อย.น้อย เจ้าหน้าที่ อปท. และวิทยุชุมชน >https://oryor.com/อย/detail/media_printing/1608      4. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบเลขผลิตภัณฑ์ว่าได้รับ อนุญาตหรือไม่ เป็นอาหารหรือเป็นยา เพื่อพิจารณาความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตามลิงค์นี้ http://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx   ข้อมูลเพิ่มเติม มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ "กินถั่งเช่าสกัดต่อเนื่อง เสี่ยงไตวาย ต้องระบุคำเตือนในฉลาก "   https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3465287963594741&id=125635820893322&sfnsn=mo   https://youtu.be/nj3qyplZduQ จากหมอแผนจีน https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3218882714884078&id=686903858081989&sfnsn=mo ลิงค์หมอแผนจีนเล่าเรื่องถั่งเช่าในมุมหมอจีน https://www.facebook.com/dr.nan.tcm/videos/258732275767006/ อื่น ๆ -ข่าวถั่งเช่าเก่า https://youtu.be/5wDaCwdxYks - แถลงข่าว กสทช https://youtu.be/RFmu8lCiGDI  
อ่านเพิ่มเติม

สาระน่ารู้

แนะนำการให้บริการ Chatbot พี่ปกป้อง เพื่อให้บริการตอบข้อซักถามด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอด 24 ชม.
แนะนำการให้บริการ Chatbot พี่ปกป้อง เพื่อให้บริการตอบข้อซักถามด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอด 24 ชม.
แนะนำการให้บริการ Chatbot พี่ปกป้อง เพื่อให้บริการตอบข้อซักถามด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอด 24 ชม. คลิกดูวีดีโอได้จากด้านล่างนี้  
อ่านเพิ่มเติม
อย.เปิดตัวแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ “ปลูกกัญ” เพื่อช่วยประชาชนในการจดแจ้งการปลูก กัญชา กัญชง ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
อย.เปิดตัวแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ “ปลูกกัญ” เพื่อช่วยประชาชนในการจดแจ้งการปลูก กัญชา กัญชง ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
อย.เปิดตัวแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ “ปลูกกัญ” เพื่อช่วยประชาชนในการจดแจ้งการปลูก กัญชา กัญชง ได้อย่างสะดวก รวดเร็วดาวโหลด App ที่หน้าเวปลิงค์นี้ครับ https://plookganja.fda.moph.go.th/ จากการที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 มีผลบังคับใช้ วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ซึ่งมีผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2% ประชาชนสามารถปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเพียงแต่จดแจ้งนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการจดแจ้งการปลูก กัญชา กัญชง ให้แก่ประชาชน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้จัดทำแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” และเว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th โดยแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android เพื่อออกใบรับจดแจ้งในวันที่ 9 มิถุนายน 2565  โดยจดแจ้งเพียง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ  คือ 1. ลงทะเบียน 2. จดแจ้งตามวัตถุประสงค์ 3. รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้ทราบจำนวนและแหล่งที่ปลูกกัญชา และกัญชงทั่วประเทศ อีกทั้ง ยังเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้ประกอบการแสวงหาวัตถุดิบเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานออกสู่ตลาด เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลอีกด้วย สามารถติดตามข่าวสารดี ๆ ต่อได้ที่ >>https://oryor.com/อย/detail/media_news/2289ไม่อยากพลาดข้อมูลข่าวสารสุขภาพดี ๆ จาก อย. มาเป็นเพื่อนไลน์กับเราได้ที่ Line : @FdaThai เพียงแค่คลิก https://line.me/R/ti/p/Hik9-DvLsP
อ่านเพิ่มเติม
5 เครื่องดื่มที่ไม่ควรดื่มพร้อมยา
5 เครื่องดื่มที่ไม่ควรดื่มพร้อมยา
รู้มั้ยว่า การกินยากับเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่น้ำเปล่า จะส่งผลมากมายต่อยาและต่อร่างกายเราได้นะ ตามนี้เลย... #oryor #FDAthai #FDAknowledge #อย #การกินยา #เครื่องดื่ม #น้ำเปล่า #ชา #กาแฟ #เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ #นม สามารถติดตามบทความต่อได้ที่นี่...>>>https://oryor.com/อย/infographic/detail/73/1119 ไม่อยากพลาดข้อมูลข่าวสารสุขภาพดี ๆ จาก อย. มาเป็นเพื่อนไลน์กับเราได้ที่ Line : @FdaThai เพียงแค่คลิก https://line.me/R/ti/p/Hik9-DvLsP
อ่านเพิ่มเติม
ด่วน มติที่ประชุม คกก. ควบคุมยาเสพติด ปลดล็อกกัญชาพ้นรายชื่อ ยส.5
ด่วน มติที่ประชุม คกก. ควบคุมยาเสพติด ปลดล็อกกัญชาพ้นรายชื่อ ยส.5
ด่วน มติที่ประชุม คกก. ควบคุมยาเสพติด ปลดล็อกกัญชาพ้นรายชื่อ ยส.5 แล้วส่งไม้ต่อ คกก.ป.ป.ส. 25 ม.ค.นี้ ก่อนสิ้นสุดที่ อนุทิน ลงนามประกาศใช้ #oryor #FDAthai #FDAnews #อย #ปลดล็อกกัญชา #ยาเสพติดให้โทษประเภทที่5 #กัญชา #คณะกรรมการควบคุมยาเสพติด #ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถติดตามข่าวสารดี ๆ ต่อได้ที่ >>https://oryor.com/อย/detail/media_news/2205 ไม่อยากพลาดข้อมูลข่าวสารสุขภาพดี ๆ จาก อย. มาเป็นเพื่อนไลน์กับเราได้ที่ Line : @FdaThai เพียงแค่คลิก https://line.me/R/ti/p/Hik9-DvLsP
อ่านเพิ่มเติม

หนังสือเวียน

กฎหมายใหม่/ระเบียบใหม่

สำหรับเจ้าหน้าที่

สปอร์ต อย. เอาไว้เปิดเสียงตามสาย และ หอกระจายข่าว
สปอร์ต อย. เอาไว้เปิดเสียงตามสาย และ หอกระจายข่าว
สปอร์ต อย. เอาไว้เปิดเสียงตามสาย และ หอกระจายข่าวได้ครับhttps://drive.google.com/drive/folders/1cQtQ8lF-bF1_XiPVq_mhSPwDJnO9nbqo?usp=sharing
อ่านเพิ่มเติม
ดาวโหลดวีดีโอการประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนการสร้างชุมชนและองค์กรรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผ่าน Virtual Meeting
ดาวโหลดวีดีโอการประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนการสร้างชุมชนและองค์กรรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผ่าน Virtual Meeting
การประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนการสร้างชุมชนและองค์กรรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผ่าน Virtual Meeting   https://drive.google.com/drive/folders/1-T63Mk-zSuwwVKg2qD5oY0vD5ItMFeJx?usp=sharing
อ่านเพิ่มเติม
  • ผู้เข้าชมหน้านี้
    ผู้เข้าชม
    129
    คน
    คลิก
    174
    ครั้ง
  • ผู้เข้าชมเว็บไซต์
    ผู้เข้าชม
    10,153
    คน
    คลิก
    25,268
    ครั้ง

อาหารปลอดภัย

กัญชาทางการแพทย์

RDU (การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล)

FDA Podcast
FDA Podcast
ติดตาม ‘FDA Podcast’ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ที่• Spotify: https://spoti.fi/31yIpWQ • Soundcloud: https://soundcloud.com/fdathai • Podbean: https://fdathai.podbean.com/ • Youtube: https://bit.ly/3jnlTX7   ไม่อยากพลาดข้อมูลข่าวสารสุขภาพดี ๆ จาก อย. มาเป็นเพื่อนไลน์กับเราได้ที่ Line : @Fda Thai เพียงแค่คลิก https://line.me/R/ti/p/Hik9-DvLsP  
อ่านเพิ่มเติม
ดาวโหลดคู่มือการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU Community) 
ดาวโหลดคู่มือการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU Community) 
ดาวโหลดคู่มือการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU Community)  https://drive.google.com/file/d/1giRjkFryOdGFdWmmYup_DFSZZTJF_UcK/view?usp=sharing ดาวโหลด https://drive.google.com/file/d/1OzHtxbfLIoH6Ql5kZFLcgQ3-AiL2cXLZ/view?usp=sharing ดาวโหลด template ตัวชี้วัด RDU Community ปี 2564 https://drive.google.com/file/d/1TOcKrgbdXc7IuUbTLNf27nNmlnRS4uUr/view?usp=sharing การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU Community)  เกณฑ์ผ่านตัวชี้วัด: ระดับความสำเร็จการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน ผ่านเกณฑ์ระดับ 3 หน่วยวัด ระดับจังหวัด คำอธิบาย  แต่ละจังหวัด มีการออกแบบบริหารจัดการเพื่อให้มีการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน อย่างน้อย 1 อำเภอ ซึ่งแต่ละอำเภอดำเนินการ อย่างน้อย 1 ตำบล โดยกำหนดให้มีผู้ประสานงานระดับจังหวัด และอำเภอ (RDU coordinator) โดยมีโรงพยาบาล/ศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานระดับที่สูงกว่า หน่วยงานระดับเดียวกันหรือระดับรองลงมา ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จนถึงชุมชน และเครือข่ายอื่นๆ ในชุมชน ภายใต้กลไกคณะกรรมการระดับอำเภอที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ คณะกรรมการหัวหน้าส่วนราชการในระดับอำเภอ คณะกรรมการธรรมนูญสุขภาพอำเภอ คณะกรรมการประสานงานด้านสาธารณสุขระดับอำเภอ เป็นต้น      การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน ดำเนินการ 5 กิจกรรมหลัก ดังนี้ 1.การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในโรงพยาบาล (Proactive Hospital based surveillance) เพื่อจัดระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเชิงรุก รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในโรงพยาบาล เพื่อนำไปสู่การจัดการความเสี่ยงในชุมชน 2.การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในชุมชน  (Active Community based Surveillance) เพื่อให้มีระบบค้นหาปัญหาเชิงรุก การสร้างระบบเฝ้าระวังด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน และวางระบบเชื่อมต่อการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในชุมชนและสถานบริการสุขภาพส่งต่อไปสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา 3.การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Community Participation) เพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและจัดการปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผล โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้สามารถจัดการปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผลในชุมชน 4.การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในภาคเอกชน (Good Private Sector) เช่น ร้านชำ ร้านยา คลินิก โรงพยาบาลเอกชน โดยสร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริมให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในสถานบริการสุขภาพภาคเอกชนและสถานที่จำหน่ายยา รวมถึงร้านชำ หรือร้านสะดวกซื้อ ไม่จำหน่ายยาที่ห้ามจำหน่าย 5.การสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชน (RDU Literacy) เพื่อพัฒนากลไกการสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน รวมถึงการประเมินผล ระดับความสำเร็จ คำอธิบาย ระดับ 1 1.จังหวัดออกแบบระบบบริหารจัดการ ได้แก่ กำหนดองค์ประกอบ โครงสร้างการจัดการ ระบบข้อมูลสารสนเทศ ระบบติดตามประเมินผล และระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง ๒.โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งในพื้นที่อำเภอเป้าหมาย หรือศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. หรือหน่วยบริการสุขภาพสังกัดอื่น ที่สมัครใจ ดำเนินการ Proactive Hospital based surveillance ระดับ 2 ผ่านเกณฑ์ระดับ 1 และดำเนินการกิจกรรมหลัก Active Community based Surveillance ระดับ 3 ผ่านเกณฑ์ระดับ 2 และดำเนินการกิจกรรมหลัก community participation ระดับ 4 ผ่านเกณฑ์ระดับ 3 และมีการดำเนินการกิจกรรมหลักที่เหลือ อย่างน้อย 1 ข้อ ระดับ 5 ดำเนินการครบ 5 กิจกรรมหลัก รายละเอียดการประเมินการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมหลัก ดูในแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน  จากเว็บไซต์ http://ndi.fda.moph.go.th/drug_use   หมายเหตุ นิยามปฏิบัติการสำหรับการดำเนินการส่งเสริมใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน การใช้ยาอย่างสมเหตุผล หมายถึง การได้รับยาและใช้ยาที่เหมาะสมกับข้อบ่งชี้ทางคลินิก ในปริมาณที่สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล ในระยะเวลาที่เพียงพอต่อการรักษาโรคนั้น และเกิดความคุ้มค่าสูงสุด ทั้งต่อบุคคลและสังคม  รวมทั้งลดความเสี่ยงจากยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยง ยา ในที่นี้หมายถึง ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีส่วนผสมของยาหรือมุ่งหมายใช้เป็นยา การส่งเสริมใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU community) หมายถึง การออกแบบระบบสุขภาพของชุมชน เพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ซึ่งเชื่อมโยงทั้งหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับสู่ชุมชน ครอบครัวและบุคคล ตลอดจนมีการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ทั้งในระบบบริการสุขภาพและชุมชน โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยา มีความรอบรู้ในการใช้ยา และการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย ทั้งนี้การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุในชุมชน มีการดำเนินการ       5 กิจกรรมหลัก ดังนี้ 1.การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในโรงพยาบาล  (Proactive Hospital Based Surveillance) 2.การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในชุมชน (Active Community Based Surveillance) 3.การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล      (Community Participation) 4.การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในภาคเอกชน (Good Private Sector) 5.การสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชน (RDU Literacy)   ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกัน และมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างเป็นปกติและต่อเนื่อง โดยเหตุที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน หรือมีอาชีพเดียวกัน หรือประกอบกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน หรือมีวัฒนธรรม ความเชื่อหรือความสนใจร่วมกัน    
อ่านเพิ่มเติม

โรงเรียน อย. น้อย

การรับรองมาตรฐาน โรงเรียน อย.น้อย
การรับรองมาตรฐาน โรงเรียน อย.น้อย
ประเมินผ่านระบบ FDA center ตามลิงค์นี้ครับ  https://fda.go.th/login-admin/ เมนูสำหรับผู้รายงานผลการดำเนินงาน    สำหรับเกณฑ์ ดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ครับ http://www.oryornoi.com/activity_cate/school-certification/ การรับรองมาตรฐาน โรงเรียน อย.น้อย   🌟แบบประเมินการพัฒนาสู่โรงเรียน อย.น้อย [Plus] 🌟     คู่มือเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน-อย.น้อย     แนวทางการประเมินโรงเรียน อย.น้อย     แบบประเมิน โรงเรียน อย.น้อย      
อ่านเพิ่มเติม
การประชุมแผนงานด้านความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพร่วมกับภาคีเครือข่าย ผ่านระบบ Virtual Conference
การประชุมแผนงานด้านความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพร่วมกับภาคีเครือข่าย ผ่านระบบ Virtual Conference
วีดีโอการบรรยาย อย.น้อย plus และ อย.น้อย บวร ลิงค์ตามนี้  https://bit.ly/2RsALuG
อ่านเพิ่มเติม

บวร.ร. & ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคฯ

แนวคิดการดำเนินโครงการเครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ (บวร.ร.)
แนวคิดการดำเนินโครงการเครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ (บวร.ร.)
การดำเนินโครงการเครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ (บวร.ร.)   - ลิงค์แนวคิดการดำเนินงาน บวร.ร /บวร.ร. เขาทำกันอย่างไร  https://www.youtube.com/watch?v=rr8IURU1Rh0&t=300s - ตัวอย่างการดำเนินงานของจังหวัดต่าง ๆ https://www.youtube.com/channel/UCqQjf8l4Mxxxr0WimMfS0ng/videos                 สำหรับจังหวัดชัยนาทสามารถดำเนินงานชมรมคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบล ที่เราดำเนินการอยู่แล้ว ภายใต้แนวคิด บวร.ร. แก้ไขปัญหาของชุมชนของเราตามบริบทของชุมชน เช่น ร้านชำปลอดภัยจากยาชุดยาอันตราย อาหารปลอดภัย    การโฆษณาเกินจริง เป็นต้น   ลิงค์งานวิจัย ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลตลุก จังหวัดชัยนาท https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169586/121980    
อ่านเพิ่มเติม
เล่มวิจัยโครงการบวร.ร. ปี 2563 (word และpdf )
เล่มวิจัยโครงการบวร.ร. ปี 2563 (word และpdf )
แบบสอบถามการวิจัยเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเฉลยเล่มวิจัยโครงการบวร.ร. ปี 2563 (word pdf)ค่าความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ตาม link ใน google drive ข้างล่างนะคะ สำหรับท่านใดจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อค่ะ https://drive.google.com/drive/mobile/folders/1P0kOVhZhQXuNmCwdhgv0kDRpSop4UUln?usp=sharing
อ่านเพิ่มเติม