ข่าวประชาสัมพันธ์

ขอเชิญสตรีชาวชัยนาท อายุ 30-60 ปี ตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก “ด้วยเทคโนโลยี่ใหม่ สะดวก ง่าย ไม่อาย ไม่เจ็บ” ฟรี ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน

วันนี้(วันที่ 21 มีนาคม 2566) นพ.พัลลภ  ยอดศิรจินดา  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท รวมถึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมการทำงานแบบบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด เพื่อให้สตรีชาวชัยนาทเข้าสู่การตรวจ คัดกรอง วินิจฉัยและรักษาที่มีประสิทธิภาพลดการเสียชีวิตของหญิงไทยจากมะเร็งปากมดลูกช่วยให้ประเทศลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลและรักษาพยาบาลเกิดเป็นต้นแบบการดำเนินงานด้านมะเร็งปากมดลูกระดับจังหวัดและสามารถนำไปขยายผลให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่อื่นๆ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง (HPV Self-Sampling) เพิ่มทางเลือก  ในการเข้าถึงบริการ ถือว่าเป็นวิธีการตรวจที่มีความแม่นยำสูงกว่าวิธีการตรวจคัดกรองแบบเดิม  ช่วยแก้ไขปัญหา ความเขินอาย ประชาชนสามารถเข้าถึงชุดเก็บตัวอย่างได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยการมีส่วนร่วมจัดบริการของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ เพิ่มทางเลือกในการเข้ารับบริการผ่านช่องทางที่หลากหลาย  จึงขอเชิญสตรีชาวชัยนาท อายุ 30-60 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด สะดวก ง่าย ไม่อาย ไม่เจ็บ โดยการตรวจคัดกรองด้วยตนเอง (HPV Self-Sampling)  ณ สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน (ฟรี) ตั้งแต่บัดนี้จนถึง วันที่ 30 เมษายน 2566 ทุกวันราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง

โครงการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมฯ (กระทรวงมหาดไทย)

ประชาสัมพันธ์โครงการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจชุมชนอาเซียน และอัตลักษณ์สินค้าชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อหลุดพ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน (E-book กระทรวงมหาดไทย)   รายละเอียดโครงการ   https://online.anyflip.com/jbdzo/vguc/mobile/index.html

กัญชา เฉพาะ "ช่อดอก" เป็นสมุนไพรควบคุม

กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ขอประชาสัมพันธ์เผยแพร่แผนพับกัญชา เฉพาะ "ช่อดอก" เป็นสมุนไพรควบคุม  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นความรู้สำหรับหน่วยงาน และประชาชนทั่วไป ในการขอใบอนุญาตให้ศึกษาวิจัยสมุนไพรควบคุม หรือใบอนุญาตให้จำหน่าย ส่งออก หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า

ช่อดอกกัญชา เป็นสมุนไพรควบคุม

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ขอเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแนวทางขั้นตอนขออนุญาตใช้สมุนไพรควบคุม ศึกษาวิจัย ส่งออก จำหน่ายหรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูล หรือจะขอใบอนุญาตใช้สมุนไพรควบคุมฯ เพื่อดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และตามแนวทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้กัญชา หรือสารสกัดจากกัญชา ซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis เป็นสมุนไพรควบคุม    ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่ => https://moph.cc/Dy_ol4jWF  

สธ.ชัยนาท ร่วมรณรงค์ วันเอดส์โลก 1 ธันวาคม 2565 เน้นย้ำ “Equalize: ทำให้เท่าเทียม” ยุติเอดส์

             สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ร่วมรณรงค์เนื่องในวันเอดส์โลก 1 ธันวาคม 2565 (World AIDS Day) สร้างการรับรู้ภายใต้ประเด็นสารรณรงค์ คือ “Equalize: ทำให้เท่าเทียม” โดยการไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี สร้างค่านิยมให้สังคมไทยใหม่ว่า เอดส์เป็นเรื่องปกติ การใช้ถุงยางอนามัยเป็นเรื่องปกติ ตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีให้เป็นเรื่องปกติ การเข้าถึงบริการป้องกันและรักษา    เอชไอวี/เอดส์เป็นเรื่องปกติ             นายแพทย์พัลลภ  ยอดศิรจินดา  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท กล่าวว่า  ประเทศไทยได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ ปี พ.ศ. 2560 – 2573 มีเป้าหมายหลัก        3 ประการ คือ ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา โดยจะลดจานวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ คนต่อปี    ลดการเสียชีวิต ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่เกิน ๔,๐๐๐ รายต่อปี และลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวี และเพศภาวะลง เหลือไม่เกินร้อยละ 1๐ ในปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่ ประมาณ 520,000 คน โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ ร้อยละ 97 เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน   โบว์สีแดง เป็นสัญลักษณ์ เนื่องในวันเอดส์โลก (World AIDS Day) เพื่อสื่อถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของผู้ป่วยเอชไอวีที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคม ทั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทย “ทำให้เท่าเทียม” (Equalize) มุ่งสู่การยุติเอดส์ เริ่มต้นได้ที่ทุกคน โดยการไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี     ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการป้องกัน การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี และบริการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างเท่าเทียม   จนสามารถกดไวรัสได้สำเร็จ รวมทั้งสร้างค่านิยมให้สังคมไทยใหม่ว่า เอดส์เป็นเรื่องปกติ ดังนั้น ทุกบริการที่เกี่ยวเนื่องกับเอชไอวี/เอดส์ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงและการใช้ ถุงยางอนามัยในการป้องกัน เป็นเรื่องปกติในสังคม การกล้าที่จะตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงการเข้ารับบริการดูแลรักษาเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีสิทธิ เสรีภาพในการดำรงชีวิต ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคม            นายแพทย์พัลลภ  กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับวันเอดส์โลกในปีนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยนาท เรือนจำจังหวัดชัยนาท  ในส่วนหน่วยบริการทุกระดับ รณรงค์ในหน่วยบริการ ในสถานศึกษา และในชุมชน ของแต่ละพื้นที่ขอเชิญชวน  ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงและประชาชนทั่วไปเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ปีละ 2 ครั้ง ทั่วประเทศ   ทุกสิทธิ์การรักษา หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเอดส์ สามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค 1422

8 อาการเสี่ยงเบาหวาน สัญญาณที่ควรใส่ใจ

8 อาการเสี่ยงเบาหวาน สัญญาณที่ควรใส่ใจ 1. ดื่มน้ำบ่อย กระหายน้ำมาก 2. ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะปริมาณมาก 3. หิวบ่อย กินจุกว่าเดิม 4. น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ 5. อ่อนเพลีย 6. สายตาพร่ามัว 7. ชาปลายมือปลายเท้า 8. แผลหายช้า **หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจคัดกรองเบาหวาน** ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย #ศูนย์ข้อมูลCOVID19 #PRDCOVID19   Cr.กรมควบคุมโรค

7 วิธี เตรียมความพร้อม เที่ยวหน้าหนาว

แนะ 7 วิธีปฏิบัติในการขับขี่และเดินทางในช่วงฤดูหนาวหมอกลงจัด ให้เพิ่มความระมัดระวังอาจเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน เช็คสภาพรถให้พร้อมก่อนเดินทาง  #ขับขี่ปลอดภัย #อุบัติเหตุทางท้องถนน #กรมควบคุมโรค     Cr.กรมควบคุมโรค

สธ.เผย ฤดูหนาวผู้ป่วยโควิดอาจเพิ่มขึ้น ย้ำประชาชนฉีดเข็มกระตุ้น กลุ่มเด็กเล็ก 6 เดือน - 4 ปี เร่งรับวัคซีน

สธ.เผย ฤดูหนาวผู้ป่วยโควิดอาจเพิ่มขึ้น ย้ำประชาชนฉีดเข็มกระตุ้น กลุ่มเด็กเล็ก 6 เดือน - 4 ปี เร่งรับวัคซีน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทยเป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่าช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวจะมีการติดเชื้อและป่วยด้วยโรคโควิด 19 เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเปิดเทอม รวมถึงมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ฮาโลวีน ลอยกระทง ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปีใหม่ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2565 มีผู้ป่วยโควิด 19 รวม 2,759 ราย เฉลี่ย 394 รายต่อวัน เพิ่มขึ้นกว่า 2-3 สัปดาห์ก่อนประมาณ 4-5% ส่วนผู้ป่วยปอดอักเสบมี 333 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 169 ราย และผู้เสียชีวิต 40 ราย เฉลี่ย 5 รายต่อวัน ยังไม่เพิ่มขึ้นจากเดิมมาก การติดเชื้อและการป่วยที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากที่คนไทยเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ลดลง ทำให้ภูมิต้านทานเริ่มน้อยลงด้วย เมื่อประกอบกับการมีกิจกรรมต่างๆ ช่วงปลายปีมากขึ้น จึงทำให้การติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้ จึงต้องเร่งรัดให้มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น รวมทั้งการฉีดวัคซีนในเด็กเล็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี ให้มากขึ้น ขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองพามารับวัคซีนที่โรงพยาบาลใกล้บ้านโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข #ศูนย์ข้อมูลCOVID19 #PRDCOVID19    Cr.กรมควบคุมโรค 

ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ฉบับลงวันที่ 29 มิถุนายน 2565 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 205 ง วันที่ 1 กันยายน 2565 หน้า 28)

ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ฉบับลงวันที่ 29 มิถุนายน 2565 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 205 ง วันที่ 1 กันยายน 2565 หน้า 28)   1 ก.ย.2565 - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกาษ เผยแพร่ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง โดยที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาพิจารณาเห็นว่า ในปัจจุบันมีประเทศ เขตการปกครองหรือเมืองหลวง เกิดขึ้นใหม่ บางประเทศแยกตัวเป็นอิสระจากกัน บางประเทศเปลี่ยนระบอบการปกครองและเปลี่ยนชื่อประเทศ บางประเทศหรือบางเขตการปกครองได้เปลี่ยนเมืองหลวงหรือเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่ ประกอบกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้แก้ไขการเขียนชื่อประเทศเขตการปกครอง และเมืองหลวง ตามการออกเสียงของเจ้าของภาษา และแก้ไขตัวสะกดชื่อตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาปรับปรุงและจัดท าเพิ่มขึ้นอีกหลายภาษาส านักงานราชบัณฑิตยสภาโดยคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากลจึงได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน บัดนี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล พร้อมด้วยผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงประกาศดังกล่าวแล้ว สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงให้ยกเลิกประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวงฉบับลงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 แล้วกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวง ดังแนบท้ายประกาศนี้แทน จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565ศาสตราจารย์กิตติคุณสุรพล วิรุฬห์รักษ์นายกราชบัณฑิตยสภา   รายละเอียด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 205 ง วันที่ 1 กันยายน 2565

สธ.ชัยนาท ห่วงใยประชาชนดูแลสุขภาพในช่วงปลายฝนต้นหนาว เตือนระวัง 6 โรค

สธ.ชัยนาทแนะประชาชนดูแลสุขภาพในช่วงปลายฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไตวายเรื้อรัง จะเสี่ยงป่วยด้วยโรคไข้หวัดได้ง่าย เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้มีความชื้นสูง และป่วยแล้วจะเกิดโรคแทรกได้ง่าย       ที่อันตราย คือ โรคปอดบวม จึงขอประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนให้ประชาชน ระมัดระวังโรคในช่วงปลายฝนต้นหนาว วันนี้(วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565) นพ.พัลลภ ยอดศิรจินดา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท กล่าวว่า ขณะนี้บางพื้นที่อากาศเริ่มหนาวเย็น และบางพื้นที่ยังมีฝนตกอยู่ อาจทำให้ผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งและไตวาย เป็นต้น เสี่ยงป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจได้ง่าย ที่พบมากเช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด อุจาระร่วง อีสุกอีใส และที่น่าห่วงก็คือโรคปอดบวม ซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่มักเกิดตามมาหลังจากเป็นไข้หวัด มักพบมากในช่วงฤดูฝน และช่วงปลายฝนต้นหนาว โดยโรคนี้เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของโรคติดเชื้อทั้งหมด ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ นพ.พัลลภ กล่าวต่อ ในการป้องกันโรคปอดบวม ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สวมเสื้อผ้าหลายชั้นให้ร่างกายอบอุ่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์     กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น เนื่องจากในผักและผลไม้สดจะมีวิตามินซี สร้างภูมิต้านทานโรคได้ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีและใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย และใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ถ้าเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ควรใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอหรือจาม สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันได้ทั้งโรคไข้หวัดและโรคโควิด-19 หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่คนแออัด หมั่นล้างมือให้สะอาดภายหลังสัมผัสสิ่งของหรือผู้ป่วย งดดื่มสุราหรือของมึนเมา  ท่านและบุคคลในครอบครับจะได้ห่างไกลจากโรคปอดบวม

จังหวัดชัยนาท เชิญชวนร่วมโครงการ “แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ” “แผ่นดินไทย ไร้สโตรค”

จังหวัดชัยนาท ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทและการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยนาท ร่วมจัดกิจกรรมโครงการ “แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ที่ทรงเป็นดั่งแสงนำใจของประชาชนไทย และทรงเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการรักษาสุขภาพ และการออกกำลังกาย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย “แผ่นดินไทย ไร้สโตรค”           นายแพทย์พัลลภ  ยอดศิรจินดา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท กล่าวว่า ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 1,880 คนต่อประชากร 100,000 คน หรือร้อยละ 2 ซึ่งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในเพศหญิงและอันดับสามในเพศชาย รองจากอุบัติเหตุและโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคมีอัตราความพิการสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการดำเนินงานเชิงรุกในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาและลดภาระปัญหาโรคเรื้อรังโดยมุ่งเน้นให้ประชาชน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกหมู่เหล่า มีโอกาสออกกำลังอย่างง่าย ๆ ที่สามารถปฏิบัติได้ เช่น การเดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน ซึ่งหากทำเป็นประจำ จะทำให้มีสุขภาพดี ห่างไกลโรค         ทั้งนี้ จังหวัดชัยนาท ขอเชิญชวนชาวชัยนาท ร่วมกิจกรรมโครงการ “แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ” โดยพร้อมเพรียงกัน กำหนดจัดกิจกรรมในระหว่างวันที่ 18 – 27 พฤศจิกายน 2565  ได้แก่การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 18 – 25 พฤศจิกายน 2565   ณ ศาลากลางจังหวัดชัยนาท และวันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 มีกิจกรรมเดิน 5 กิโลเมตร , กิจกรรมวิ่ง 5 กิโลเมตร , กิจกรรมปั่น 17,34 กิโลเมตร กิจกรรมเริ่มเวลา 05.00 น.  ร่วมชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ร่วมชมนิทรรศการและตอบปัญหาชิงรางวัล ความรู้เรื่อง“โรคหลอดเลือดสมอง” โดย ทีมแพทย์และพยาบาล รพ.ชัยนาทนเรนทร  ร่วมประเมินคววามพึงพอใจ ผ่าน QR Code   ร่วมรับประทานอาหารเช้าและเครื่องดื่ม ร่วมสนุกับดนตรี “วัยเก๋าสร้างสุข” โดย ชมรมเพลงวัยหวาน  ร่วมเก็บภาพประทับใจ Acting-Post ณ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ หน้าศาลากลาง จังหวัดชัยนาท โดยประชาชนที่ร่วมกิจกรรม ควรเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เตรียมร่างกายให้แข็งแรง โดยเริ่มจากคืนก่อนวิ่งควรพักผ่อนให้เพียงพอ / ควรมาถึงสนามก่อน 20 นาที เพื่ออบอุ่นร่างกาย / ควรดื่มน้ำก่อนวิ่ง ระหว่างวิ่ง และหลังวิ่ง ดื่มครั้งละน้อย ๆ ไม่ควรดื่มเยอะ ไม่ควรดื่มน้ำอัดลม / หากเกิดอาการจุก หรือหายใจไม่ทัน บาดเจ็บขณะร่วมกิจกรรมควรแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ได้จัดรถพยาบาลพร้อมด้วยทีมแพทย์และพยาบาลคอยดูแลผู้เข้าร่วมกิจกรรม ฯ

กินเจ วิถีใหม่ อิ่มบุญ อิ่มใจ ไตไม่พัง

เทศกาลกินเจ  26 กันยายน - 4 ตุลาคม 2565 ขอชวนทุกท่านใช้โอกาสนี้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพด้วยการกินเจวิถีใหม่ เน้นรับประทานผักให้มากขึ้น ลดแป้งและของทอด บริโภคอาหารสุก สะอาด ล้างมือก่อนและหลังปรุงอาหาร เเละรับประทานอาหารทุกครั้ง รวมทั้งใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างเมื่อต้องต่อคิวซื้ออาหาร